สรุปเนื้อหา เซต ม.4 มีอะไรบ้าง อ่านจบพร้อมลุยโจทย์

เซต ม.4 สรุปเข้ม

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      รู้หรือไม่ว่า บทเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลายนั้นสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบทเรียนที่เป็นรากฐานสำคัญของการนำไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนและวิชาอื่น ๆ วันนี้ พี่ภูมิ WE BY THE BRAIN จะพามารู้จักกับบทเรียนเซต เนื้อหา ม.4 เทอม 1 บทเรียนแรกที่น้องใหม่ ม.ปลาย ทุกคนจะต้องเจอ และยังเป็นบทพื้นฐานสำคัญของการนำความรู้ไปใช้ในบทอื่น อย่างเช่น “ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน” หรือ “หลักการนับเบื้องต้น”

      หากเข้าใจคอนเซปต์ของการเรียนบทนี้แล้ว การเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หรือน้อง ๆ สนใจ ติวคณิตศาสตร์ ม.4 กับ WE BY THE BRAIN สามารถดูเนื้อหาการเรียนได้ที่บทความนี้เลย หากพร้อมแล้วตาม พี่ภูมิ – อ.สิทธิเดช เลนุกูล ไปดูเนื้อหาการเรียน เซต ที่มาพร้อมโจทย์ตัวอย่างและเฉลยอย่างละเอียดกันได้เลย!

เซต คืออะไร

เซต คืออะไร?

      เซต (Sets) เป็นคำอนิยาม ไม่สามารถให้นิยามกับเซตได้ แต่เราจะใช้เซตในการกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ โดยที่จะต้องทราบแน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม สิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม  โดยเราเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิกของเซต (Element or member) 

      เช่น เซตของชื่อวันในสัปดาห์ มีสมาชิก ได้แก่ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
             เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 5 มีสมาชิก ได้แก่ 1, 2, 3 และ 4 เป็นต้น

รูปแบบการเขียนเซต

      รูปแบบของการเขียนเซตนั้นไม่ยากอย่างที่คิด โดยมีทั้งหมด 2 รูปแบบหลัก ๆ ที่จะได้เรียนกันในระดับ ม.ปลาย

1. การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก (Roaster form)

      วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก ในกรณีที่ต้องการแจกแจงสิ่งที่อยู่ในเซตออกมา โดยเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในวงเล็บปีกกาและใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว
      เช่น  เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 5 เขียนได้ว่า { 1, 2, 3, 4 } เป็นต้น

      โดยทั่วไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ 
      เช่น  A เป็นเซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 5 จะได้ว่า A = { 1, 2, 3, 4 } เป็นต้น

      นอกจากนี้น้อง ๆ สามารถใช้สัญลักษณ์จุดสามจุดหรือ “…” (and so on) เพื่อแสดงถึงสมาชิกอื่น ๆ ในเซตได้อีกด้วย และสามารถใช้แทนเซตอนันต์ซึ่งจะมีความหมายว่ามีสมาชิกอื่น ๆ อีกจำนวนไม่สิ้นสุด
      เช่น  A เป็นเซตของพยัญชนะในภาษาไทย เขียนเซต A แบบแจกแจงสมาชิก ได้ดังนี้ A = {ก, ข, ฃ, … , อ, ฮ}
              B เป็นเซตของจำนวนคู่ เขียนเซต B แบบแจกแจงสมาชิก ได้ดังนี้ B = { …, -6, -4, -2, 0, 2, 4, 6, … }

      **การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก ต้องเขียนสมาชิกแต่ละตัวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ตัวซ้ำเขียนครั้งเดียวพอ)**

2. การเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข (Set builder form)

      วิธีนี้สามารถใช้อธิบายคุณสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในรูปตัวแปรได้อย่างดี เป็นวิธีการเขียนเซตโดยบอกเงื่อนไขหรือกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกในเซตนั้น โดยเริ่มจากการกำหนดขอบเขตเฉพาะของสมาชิก ( เอกภพสัมพัทธ์) จากนั้นใช้สัญลักษณ์ “ | “ ใช้แทนคำว่า “โดยที่” เพื่อคั่นระหว่างตัวแปรกับเงื่อนไข

ชื่อเซต = { ตัวแปรแทนสมาชิกภายในเซต | เงื่อนไขของตัวแปร }

      ยกตัวอย่างเช่น  

A = { 3, 6, 9 } จะสามารถเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขได้เป็น

A = { x | x เป็นจำนวนนับระหว่าง 0 – 10 ที่หารด้วย 3 ลงตัว }

      น้อง ๆ สามารถอ่านได้อย่างง่ายว่า “ เซต A เป็นเซตที่มี x เป็นสมาชิก  โดยที่ x เป็นจำนวนนับระหว่าง 0 – 10 ที่หารด้วย 3 ลงตัว ” 

โจทย์เซต

      อ่านว่า “ เซต B เป็นเซตที่มี x ที่เป็นจำนวนเต็มเป็นสมาชิก โดยที่ x นั้นเป็นจำนวนที่มีค่ามากกว่า ½ แต่น้อยกว่าเท่ากับ 2 ”

การเป็นสมาชิกของเซต

      กำหนดให้ A = { 1, 2, 3, 4 } จะเห็นว่า 1, 2, 3 และ 4 ต่างก็ “อยู่ใน” หรือ “เป็นสมาชิกของ” เซต A

      คำว่า “เป็นสมาชิกของ” หรือ “อยู่ใน” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ” ∈ “

      เช่น  กำหนดให้ A = { 1, 2, 3, 4 }

      จะได้ว่า 1 ∈ A, 2 ∈ A, 3 ∈ A และ 4 ∈ A

      แต่ 5 ไม่เป็นสมาชิกของเซต A ซึ่งคำว่า “ไม่เป็นสมาชิกของ” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ” ∉ “

      ดังนั้นเขียนได้เป็น 5 ∉ A นั่นเอง

ชนิดของเซต

  • เซตจำกัด หมายถึง เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมด หรือสามารถบอกได้ว่ามีจำนวนสมาชิกเท่าใด ซึ่งสามารถนับเป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์สมาชิกได้ โดยจำนวนสมาชิกของเซตจะเขียน n (เซตที่สนใจ) เช่น
    • A = { 1, 2, 3 } จะเห็นว่า เซต A มีสมาชิก 3 ตัว คือ 1 2 และ 3 ดังนั้น n(A) = 3
    • B = { 1, 2 } จะเห็นว่า เซต B มีสมาชิก 2 ตัว คือ 1 และ 2 ดังนั้น n(B) = 2
    • C = { 1, 2, 3, …, 100 } จะเห็นว่า เซต C มีสมาชิก 100 ตัว คือ 1 – 100 ดังนั้น n(C) = 100
  • เซตว่าง หมายถึง เซตที่ไม่มีสมาชิกหรือสามารถกล่าวได้ว่า เซตว่างมีสมาชิก 0 ตัว โดยเซตว่างจะใช้สัญลักษณ์ { } หรือ Ø (อ่านว่า phi) แสดงว่า n( { } )=n(Ø)=0 และเนื่องจากเราสามารถบอกได้ว่าเซตว่างมีสมาชิก 0 สมาชิก ดังนั้น เซตว่างจึงจัดว่าเป็น เซตจำกัด นั่นเอง
  • เซตอนันต์ หมายถึง เซตที่มีจำนวนสมาชิกที่นับไม่ถ้วน หรือไม่สามารถที่จะระบุจำนวนสมาชิกในเซตนั้นได้
    • A = { 1, 2, 3, … } จะเห็นว่า เซต A มีสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน ไม่สามารถระบุได้ว่ามีจำนวนสมาชิกเป็นเท่าใด เซต A จึงเป็นเซตอนันต์
    • B = { 1, ½, ¼, … } จะเห็นว่า เซต B มีสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน ไม่สามารถระบุได้ว่ามีจำนวนสมาชิกเป็นเท่าใด เซต B จึงเป็นเซตอนันต์
เอกภพสัมพัทธ์

เอกภพสัมพัทธ์

      เอกภพสัมพัทธ์ (Relative University) คือ เซตที่บ่งบอกถึงขอบเขตของสิ่งที่พิจารณา โดยทั่วไปนิยมใช้สัญลักษณ์ U แทนเอกภพสัมพัทธ์ และมีข้อตกลงว่า เมื่อกล่าวถึงสมาชิกของเซตใด ๆ จะไม่กล่าวถึงสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์

      เช่น  กำหนดให้ U คือ เซตของจำนวนเต็มบวก และ A={ x | x2=4 }

      ซึ่งจาก x= 4 จะได้ว่า x = 2 หรือ x = -2

      ซึ่ง 2 ∈ U แต่ -2 ∉ Uแสดงว่า -2 ∉ A

      ดังนั้น A = { 2 }

      หมายเหตุ : ถ้ากล่าวถึงเซตของจำนวน และไม่ได้กำหนดว่าเซตใดเป็นเอกภพสัมพัทธ์ ในระดับ ม.ปลาย ให้ถือว่าเอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตของจำนวนจริง (ℝ)

เซตที่เท่ากัน

      เซต A และ เซต B เป็นเซตที่เท่ากัน (Equality of sets) ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกของเซต A เราสามารถใช้สัญลักษณ์แทนการเท่ากันของเซต คือ A = B

      เช่น  A = { 0, 1, 2, 3 } และ B = { 3, 2, 1, 0} จะเห็นว่าทั้งสองเซตมีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว แม้ลำดับของสมาชิกจะต่างกัน แต่ก็ถือว่าทั้งสองเซตเป็นเซตเดียวกัน ดังนั้น A = B

      และสำหรับกรณีที่มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต A ที่ไม่ใช่สมาชิกของเซต B

      หรือมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต B ที่ไม่ใช่สมาชิกของเซต A จะกล่าวได้ว่า เซต A ไม่เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วย A  B

      เช่น A = { 1, 2, 3 } และ B = { 2, 1 } จะเห็นว่า 3 ∈ A แต่ 3 ∉ B ดังนั้น A  B

เซตที่เทียบเท่ากัน

      เซต A และ เซต B จะเป็นเซตที่เทียบเท่ากัน (equivalent sets) ก็ต่อเมื่อทั้งสองเซตมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน  โดยสมาชิกภายในเซตทั้งสองไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เช่น 

  • A = { 1, 2, 3, 4, 5 }  และ B = { A, E, I, O, U } 
    จะเห็นว่า A ≠ B แต่ n(A) = 5 และ n(B) = 5 เหมือนกัน 

      ดังนั้น เซต A เทียบเท่ากับ เซต B

  • A = { 1, 2, 3 }  และ B = { รถไฟ, เครื่องบิน, เรือ }
    จะเห็นว่า A ≠ B แต่ n(A) = 3 และ n(B) = 3 เหมือนกัน 

      ดังนั้น เซต A เทียบเท่ากับ เซต B

สับเซต (Subset)

      เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกตัวของเซต A อยู่ในหรือเป็นสมาชิกของเซต B

      สามารถใช้สัญลักษณ์แทนการเป็นสับเซตได้ว่า A ⊂ B 

      แต่หากมีสมาชิกบางตัวหรือย่างน้อยหนึ่งตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะทำให้ A ไม่เป็นสับเซตของ B สามารถใช้สัญลักษณ์แทนการไม่เป็นสับเซตได้ว่าได้ว่า A ⊄ B

      เช่น 

      A = { 1, 2 } และ B = { 1, 2, 3, 4, 5 } 

      จะเห็นว่า A มีสมาชิก คือ 1 และ 2 ซึ่งทั้งสองจำนวนอยู่ใน B ด้วย ดังนั้น A ⊂ B 

      แต่จะเห็นว่า 3 ∈ B แต่ 3 ∉ A ดังนั้น  B ⊄ A นั่นเอง

      อยากให้น้องๆ ได้เห็นภาพตรงกันว่าหาก A เป็นสับเซตของ B แล้ว ไม่ได้หมายความว่า B จะเป็น สับเซตของ A 

สับเซตที่เป็นไปได้ทั้งหมด

      สับเซตที่เป็นไปได้ทั้งหมดของเซต A คือ เซตทั้งหมดที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกของเซต A

      เช่น  กำหนดให้ A = { 1, 2, 3 }
              สับเซตของ A ที่เป็นไปได้ทั้งหมด คือ ø, {1}, {2}, {3} ,{1, 2}, {1, 3}, {2, 3}, {1, 2, 3}

เพาเวอร์เซต (Power set)

      P(A) เป็นเซตที่มีสับเซตที่เป็นไปได้ทั้งหมดของเซต A เป็นสมาชิก
      หรือพูดง่าย ๆ ว่า P(A) คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A

      ยกตัวอย่างเช่น
            กำหนดให้ A = { 1, 2, 3 } มี n(A) = 3
            สับเซตของ A ที่เป็นไปได้ทั้งหมด คือ ø, {1}, {2}, {3} ,{1, 2}, {1, 3}, {2, 3}, {1, 2, 3}
            ดังนั้น P(A) = { ø, {1}, {2}, {3} ,{1, 2}, {1, 3}, {2, 3}, {1, 2, 3} } มีสมาชิกทั้งหมด 8 ตัว
            ซึ่งเท่ากับ 23 โดย 3 = n(A)

            แสดงว่า เราสามารถหาจำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซต ได้ด้วยสูตร n(P(A)) = 2n(A)
            เมื่อ n(A) แทน จำนวนสมาชิกของเซต A

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

      แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler diagram) คือ แผนภาพแสดงเซตเอาไว้ช่วยในการศึกษาเกี่ยวกับเซตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันแบบเรียน สสวท. จะเรียกว่าแผนภาพเวนน์(Venn diagram) โดยสามารถเขียนในรูปต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น วงกลม วงรี แต่โดยปกติแล้วจะนิยมใช้ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในการวาดแผนภาพแทนเอกภพสัมพัทธ์(U) และวาดวงรีหรือวงกลมภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนเซตที่เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์

วิธีการเขียนแผนภาพนั้นไม่ยากเลย 

  1. น้อง ๆ สามารถเริ่มจากการวาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนเอกภพสัมพันธ์ 
  2. จากนั้นนำเซตต่าง ๆ ที่สนใจวาดไว้ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
โจทย์เซต 02

การดำเนินการระหว่างเซต

      การดำเนินการของเซต จะมี 4 แบบ

  1. ยูเนียน (Union)
  2. อินเตอร์เซกชัน (Intersection)
  3. ผลต่าง (Difference) หรือ ผลต่างระหว่างเซต (Difference of sets)
  4. คอมพลีเมนท์ (Complement)

ยูเนียน(union)

      เซต A ยูเนียนกับเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้งสองเซต สามารถเขียนแทนได้ด้วย A ∪ B

      กล่าวคือ A ∪ B = {x | x ∈ A หรือ x ∈ B}

      **ในทางคณิตศาสตร์ “หรือ” หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง**

      เขียนแผนภาพของ A ∪ B ได้ดังนี้

โจทย์เซต 03

อินเตอร์เซกชัน(intersection)

      เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วย  A ∩ B

      กล่าวคือ A ∩ B = {x | x ∈ A และ x ∈ B }

      เขียนแผนภาพของ A ∩ B ได้ดังนี้

โจทย์เซต 04

ผลต่างระหว่างเซต(difference of sets)

      ผลต่างระหว่างเชตของเซต A และ เซต B หมายถึง เซตที่มีสมาชิกอยู่ในเซต A แต่ไม่อยู่ในเซต B 

      สามารถเขียนแทนได้ด้วย A – B

      กล่าวคือ A – B = {x | x ∈ A และ x ∉ B}

      เขียนแผนภาพของ A – B ได้ดังนี้

โจทย์เซต 05

คอมพลีเมนต์ (Complement)

      กำหนดให้เซต A ใด ๆ อยู่ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้วคอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’ หรือ Ac

      กล่าวคือ A’ = {x| x ∈ U และ x ∉ A}

      เขียนแผนภาพของ A’ ได้ดังนี้

โจทย์เซต 06

ตัวอย่างโจทย์การดำเนินการระหว่างเซต

โจทย์เซต 07
โจทย์เซต 08

สมบัติของการดำเนินการของเซต

      ให้ A, B และ C เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ U จะได้

โจทย์เซต 09

สูตรสำคัญสำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเซต

สูตรสำหรับ 2 เซต

      n(A ∪ B) = n(A) + n(B) – n(A ∩ B)

โจทย์เซต 10

สูตรสำหรับ 3 เซต

    n(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A ∩ B) – n(A ∩ C) – n(B ∩ C) + n(A ∩ B ∩ C)

โจทย์เซต 11

สูตรสำคัญอื่น ๆ

      n(A) = n(U) – n(A’) 

      n(A – B) = n(A) – n(A ∩ B)

      n(A – B) = n(A ∪ B) – n(B)

ฝึกทำโจทย์ "เซต" พร้อมเฉลย

ข้อที่ 1

โจทย์เซต 12

ข้อที่ 2

โจทย์เซต 13

ข้อที่ 3

โจทย์เซต 14
โจทย์เซต 15

สรุปเรื่องเนื้อหาเซต ม.4

      อย่างที่ พี่ภูมิ ได้บอกไปว่าเซตนั้นเป็นบทเรียนสำคัญ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่มีความเข้มข้นมากขึ้นในบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลาย หากน้อง ๆ เรียนบทนี้โดยเน้นทำความเข้าใจ ก็สามารถนำบทเรียนเซตไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแน่นอน หากน้อง ๆ อ่านบทความนี้แล้วและต้องการเพิ่มความมั่นใจในการทำโจทย์มากขึ้น ทั้งสนามสอบในและนอกโรงเรียน สามารถ ติวคณิตศาสตร์ ม.ปลาย กับ WE BY THE BRAIN ได้เลย

      อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียด เซต จาก WE BY THE BRAIN ได้ที่ 

      โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

Picture of อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

มีความเชี่ยวชาญในการสอนโจทย์คณิตศาสตร์ระดับยาก
ที่คัดสรรจากสนามสอบชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ