อัปเดตข้อมูลล่าสุด : 01/04/2025
น้อง ๆ DEK69 คนไหนที่อยากจะสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ หรือคณะเทคโนโลยี หนึ่งในข้อสอบกลางที่น้อง ๆ จะต้องให้ความสำคัญเลยก็คือ TPAT3 ข้อสอบวัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เพราะสามารถนำคะแนนไปใช้ในการยื่นสมัครสอบ TCAS69 ได้ทั้งรอบ 2 Quota, รอบ 3 Admission และ รอบ 4 Direct Admission ที่สำคัญยังมีสัดส่วนคะแนนที่มากด้วย!
แล้ว TPAT3 มีรูปแบบข้อสอบยังไง? ใครต้องสอบ? สอบเมื่อไหร่? พี่วีวี่ได้หาคำตอบมาให้แล้ว พร้อมแชร์ เทคนิคเตรียมตัวสอบ TPAT3 และตัวอย่างแนวข้อสอบ จะมีความยาก – ง่ายยังไง ตามไปดูกันเลย!
TPAT3 คืออะไร
ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT3 ใน TCAS69
น้อง ๆ DEK69 รู้รึเปล่าว่า มีหลายคณะเลยนะที่ใช้คะแนน TPAT3 เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ยกตัวอย่างเช่น
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- คณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เอกฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- คณะโลจิกติกส์
- คณะอัญมณี
- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
สำหรับสัดส่วนคะแนนที่ใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย แต่โดยส่วนใหญ่สัดส่วนของคะแนน TPAT3 จะอยู่ที่ 20 – 30% และมีคะแนนสอบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความถนัดทั่วไป (TGAT), A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, A-Level ฟิสิกส์ หรือ A-Level เคมี เป็นต้น น้อง ๆ DEK69 คนไหนที่อยากรู้สัดส่วนคะแนนที่ชัดเจน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://course.mytcas.com ได้เลย
TPAT3 ค่าสมัครสอบเท่าไหร่?
TPAT3 จะมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ 140 บาท โดยมีให้เลือกสอบ 2 แบบ คือ การสอบด้วยกระดาษ หรือสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยหลังจากที่สอบ TPAT3 เสร็จแล้วและคะแนนสอบออกแล้ว หากน้อง ๆ ต้องการยื่นคำร้องขอทบทวนผลคะแนนสอบ จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 100 บาทค่ะ
คะแนนสอบ TPAT3 อยู่ได้กี่ปี?
คะแนนสอบ TPAT3 จะอยู่ได้แค่ 1 ปี และสามารถใช้คะแนนได้แค่ในปีการศึกษาที่น้อง ๆ สมัครเท่านั้น เช่น หากน้อง ๆ สมัครสอบ TPAT3 ในปีการศึกษา 2568 ก็สามารถใช้คะแนนสอบสมัครได้แค่ TCAS68 เท่านั้น ถ้าต้องการสอบ TCAS69 จะต้องสมัครสอบใหม่ทั้งหมด
ลักษณะโครงสร้างข้อสอบ TPAT3 เป็นยังไง?

ข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก ใช้ระยะเวลาสอบ 180 นาที มีจำนวนทั้งหมด 70 ข้อ 100 คะแนนเต็ม แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. การทดสอบความถนัด (Aptitude Test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ข้อสอบ TPAT3 พาร์ตนี้ มีทั้งหมด 45 ข้อ 60 คะแนน แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่
- ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning) : จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
- ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning) : จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
- ด้านเชิงกล (Mechanical Reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics) : จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
2. การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ข้อสอบ TPAT3 พาร์ตนี้ มีทั้งหมด 25 ข้อ 40 คะแนน แบ่งเป็น 2 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่
- ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ : จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
- ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ : จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน
ตัวอย่างแนวข้อสอบ TPAT3 พร้อมเฉลย
เพื่อให้น้อง ๆ มองเห็นภาพการสอบ TPAT3 ได้ชัดเจนมากขึ้น พี่วีวี่มี ตัวอย่างแนวข้อสอบ TPAT3 จาก MyTcas มาฝาก ลองไปดูแนวโจทย์และคำตอบกันได้เลย!
ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (Aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
1. ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning)
1.1 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้
16, 1, 8, 3, 4, 9, 2, ?
คำตอบ
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
เฉลย ตอบข้อ 1. 27
เหตุผล เพราะชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7 นำตัวเลขก่อนหน้ามาหารด้วย 2 ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคู่ คือ 2, 4, 6 นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 3 ตำแหน่งที่ 8 จึงเป็น 3 x 9 = 27
2. ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning)
2.1 หากต้องการวางลูกบาศก์ซ้อนกันเพื่อให้ได้ภาพที่มองจากด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง ดังภาพต่อไปนี้ จะต้องใช้ลูกบาศก์อย่างน้อยที่สุดกี่ลูก

คำตอบ
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
เฉลย ตอบข้อ 2. 9
เหตุผล เพราะเมื่อพิจารณาจากภาพด้านบนพบว่า มีกล่องที่เป็นฐานอยู่ 7 กล่อง และจากภาพด้านหน้าทำให้ทราบว่าตรงตำแหน่งที่ 1, 2, 5 และ 6 อาจมีกล่องซ้อนเป็นสองชั้นแต่ไม่ทราบว่ามีซ้อนอยู่บนทั้งสี่กล่องหรือไม่ เมื่อดูภาพด้านข้างจึงทราบว่ามีกล่องซ้อนอีกเพียง 2 กล่อง คือตรงกล่องที่ 1 และ 5 เท่านั้น จำนวนกล่องจึงมีทั้งหมดเท่ากับ 7 + 2 = 9 กล่อง

3. ด้านเชิงกล (Mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics)
3.1 ถ้าเฟือง C หมุนทวนเข็มนาฬิกา ข้อใดกล่าวถูกต้อง

- มีเฟืองหมุนตามเข็มนาฬิกาสามอัน
- เฟือง B กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา
- เฟือง A กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา
- เฟือง A กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา
- เฟือง B กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา
เฉลย ตอบข้อ 5.
เหตุผล เพราะเมื่อดูตามรูป จะมีแค่เฟือง B กับ E เท่านั้นที่หมุนตามเข็มนาฬิกา

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
4. ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
4.1 ถ้าวงกลมตามรูปข้างล่างมีพื้นที่รวม 10 หน่วย มีวงกลมเล็กแบ่งตามรัศมีห่างเท่ากันอีก 3 วงอยู่ข้างใน จงประมาณผลรวมของพื้นที่สีดำ

- 4 หน่วย
- 5 หน่วย
- 6 หน่วย
- 7 หน่วย
- 8 หน่วย
เฉลย ตอบข้อ 2.
เหตุผล เพราะพื้นที่ของชิ้นส่วนที่มีสีดำกับสีขาวซึ่งมีขนาดเท่ากัน มีจำนวนชิ้นส่วนเท่ากัน แสดงว่าชิ้นส่วนสีดำกับสีขาวมีพื้นที่เท่ากัน คือ สีละ 5 หน่วย
5. ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
5.1 ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์จาก AI (Artificial Intelligence)
คำตอบ
- อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟฟ้าด้วยแสงสว่าง
- อุปกรณ์ตั้งเวลาเปิดปิดระบบรดน้ำต้นไม้
- ระบบควบคุมยานพาหนะไร้คนขับ
- แขนกลที่ใช้ทำงานเชื่อมโลหะ
- เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ
เฉลย ตอบข้อ 3.
เหตุผล เพราะต้องใช้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
รวมคลิปติว TPAT3 จาก WE BY THE BRAIN เจาะลึกทุกข้อ & เทคนิคเพียบ!
นอกจากแนวข้อสอบ TPAT3 แล้ว พี่วีวี่ยังได้รวบรวม คลิปติวข้อสอบ TPAT3 จากพี่ ๆ ติวเตอร์ – เดอะ เบรน มาให้ด้วย น้อง ๆ DEK69 ทุกคนสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจเพื่อติวเข้มก่อนลุยสนาม TCAS69 ได้เลย!
TPAT3 สอบเมื่อไหร่ (อัปเดตล่าสุด TCAS69)
แม้ว่าปฏิทินการสอบ TPAT3 ใน TCAS69 จะยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่น้อง ๆ DEK69 สามารถดูกำหนดการสอบของปี 68 เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบได้ดังนี้
- รับสมัครสอบ TPAT3 : วันที่ 29 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2567
- สอบ TPAT3 : วันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2567
- ประกาศผลสอบ TPAT3 (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : วันที่ 17 ธันวาคม 2567
- ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TPAT3 (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : วันที่ 18 – 25 ธันวาคม 2567
- ประกาศผลสอบ TPAT3 (สอบด้วยกระดาษ) : วันที่ 7 มกราคม 2568
- ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TPAT3 (สอบด้วยกระดาษ) : วันที่ 8 – 15 มกราคม 2568
เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมลุยข้อสอบ TPAT3

น้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก่อนที่จะไปเริ่มติวสอบ TPAT3 พี่วีวี่มี 4 เทคนิคเตรียมตัวติดวิศวะ มาฝากกัน สามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนอ่านหนังสือสอบของตัวเองได้เลย รับรองว่าช่วยเพิ่มความมั่นใจและพร้อมลุยสอบมากขึ้นอย่างแน่นอน!
1. หาข้อมูลคณะ / มหาวิทยาลัยที่อยากเข้า และวางแผนการอ่านหนังสือให้ดี
ในสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่ TPAT3 เท่านั้นที่น้อง ๆ จะต้องสอบ แต่ยังมีข้อสอบอีกหลายวิชาที่ต้องใช้ในการสมัครสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็น A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม), A-Level ฟิสิกส์ และ A-Level เคมี พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ ศึกษาข้อมูลคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองอยากเข้าให้ละเอียด โดยเฉพาะสัดส่วนคะแนน จะได้จัดตารางเวลาอ่านหนังสือสอบแต่ละวิชาอย่างเหมาะสม
2. หมั่นทำโจทย์ พร้อมวิเคราะห์จุดผิดพลาดของตัวเอง
นอกจากการอ่านหนังสือสอบแล้ว การทำโจทย์ หรือฝึกทำข้อสอบจริง เป็นอีกหนึ่งทางลัดที่จะช่วยให้น้อง ๆ มีความเข้าใจในเนื้อหาของแต่ละวิชามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้น้อง ๆ รู้ด้วยว่า ตนเองยังไม่แม่นในบทไหน และมีบทไหนที่ต้องทบทวนหรือติวเพิ่มเติม
3. อย่าลืมลองจับเวลาสอบเสมือนจริง
นอกจากจะทำข้อสอบได้แล้ว น้อง ๆ ต้องทำข้อสอบให้เสร็จทันเวลาด้วยนะ ถ้าใครยังไม่เคยจับเวลาสอบเสมือนจริงมาก่อน พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ ลองจับเวลาสอบเสมือนจริงดู จะได้รู้ว่าตนเองทำข้อสอบช้ากว่าที่ควรจะเป็นมั้ย เช่น ถ้าน้อง ๆ สอบ TPAT3 จะมีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 70 ข้อ มีระยะเวลาสอบ 180 นาที หรือเฉลี่ยที่ข้อละ 2 – 3 นาที หากน้อง ๆ ลองทำข้อสอบแล้วพบว่า ตนเองใช้ระยะเวลานานกว่านี้ ก็แสดงว่าทำข้อสอบช้าเกินไปนั่นเอง
4. ให้ความสำคัญกับการพักผ่อน และการเรียนการสอนในโรงเรียน
ข้อสุดท้ายที่พี่วีวี่อยากฝากไว้ก็คืออย่าลืมให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนในช่วงที่อ่านหนังสือสอบ หรือการพักผ่อนก่อนวันสอบจริง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ไม่เครียดจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ
และอีกหนึ่งอย่างที่พี่วีวี่ไม่อยากให้ทิ้งเลยก็คือ การตั้งใจเรียนและสอบในโรงเรียนค่ะ เพราะนอกจากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาในวิชาที่ต้องใช้สอบแล้ว คะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ยังเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยนะ ห้ามทิ้งเด็ดขาดเลย!
DEK WE 68 : พิชิตคะแนนปัง TPAT3








DEK69 พิชิต TPAT3 สอบติดคณะในฝันไปกับ WE BY THE BRAIN
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พี่วีวี่เชื่อว่า น้อง ๆ DEK69 ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงพร้อมที่จะเริ่มเตรียมตัวติว TPAT3 กันแล้ว อย่าลืมลองนำ เทคนิคเตรียมตัวติดวิศวะ ไปปรับใช้กันดูนะคะ
สำหรับใครที่อยากได้เทคนิคทริกลัดเพิ่มเติม ต้องการติวเข้มก่อนสอบ A-Level, TGAT และ TPAT3 สามารถสมัครคอร์สติวเข้ามหาวิทยาลัย 69 กับ “เดอะ เบรน” ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมพาน้อง ๆ ไปตะลุยโจทย์ข้อสอบหลากหลายรูปแบบ เน้นสอนด้วยความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เรียนจบแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ เก็บคะแนนสอบได้มากขึ้นอย่างแน่นอน!