แกะวิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ง่ายๆ ในบทความเดียว

วิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ม.3

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังเรียนเกี่ยวกับการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวนี้อยู่แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือพยายามทำความเข้าใจแล้วแต่ยังสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก ขอให้น้อง ๆ อย่าเพิ่งถอดใจไป เพราะในบทความนี้ พี่ภูมิ – อ.สิทธิเดช เลนุกูล จะมาแนะวิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแบบเข้าใจง่ายในบทความเดียว ที่มาพร้อมโจทย์และเฉลย

อสมการ คืออะไร

      อสมการ (Inequality) คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการไม่เท่ากันของจำนวน ซึ่งสามารถเป็นไปได้ทั้ง ไม่เท่ากับ (), มากกว่า (>), น้อยกว่า (<) , มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) และน้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤)

      โดยความหมายของแต่ละสัญลักษณ์ คือ

  • a ≠ b มีความหมายว่า a มีค่าไม่เท่ากับ b
  • a < b มีความหมายว่า a มีค่าน้อยกว่า b (ไม่ถึง b)
  • a > b มีความหมายว่า a มีค่ามากกว่า b (เกิน b)
  • a ≤ b มีความหมายว่า a มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ b (ไม่เกิน b)
  • a ≥ b มีความหมายว่า a มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ b (ไม่น้อยกว่า b)

อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

      อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของการไม่เท่ากัน และมีตัวแปรเพียงตัวเดียว โดยที่ตัวแปรนั้นมีเลขชี้กำลังเป็น 1 ซึ่งอสมการอาจมีคำตอบหรือไม่มีคำตอบก็ได้

คําตอบของอสมการเชิงเสนตัวแปรเดียว

      คําตอบของอสมการ คือ จํานวนที่นําไปแทนค่าตัวแปรในอสมการ แล้วทําให้ได้อสมการที่เป็นจริงหรือสอดคล้องกับอสมการ และสำหรับจำนวนใดที่แทนค่าตัวแปรแล้วทำให้เกิดอสมการที่ไม่เป็นจริง แสดงว่าจำนวนนั้นไม่เป็นคำตอบของอสมการ

คําตอบของอสมการเชิงเสนตัวแปรเดียว

      น้อง ๆ จะเห็นว่าคำตอบของอสมการไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่ค่าเดียวเท่านั้น โดยอสมการจะมีคำตอบได้ 3 ลักษณะ คือ

  • มีจำนวนจริงทุกจำนวนเป็นคำตอบ
  • มีจำนวนจริงบางจำนวนเป็นคำตอบ
  • ไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบ

ตัวอย่างของการหาคำตอบอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่าง 1

จงหาคำตอบของอสมการ 2x – 2 > x + 5

วิธีทำ
      จากโจทย์ +2 ทั้ง 2 ฝั่งจะได้ 2x – 2 + 2 > x + 5 + 2
      ต่อมา -x ทั้ง 2 ฝั่งจะได้ 2x – x > x + 7 – x
      พบว่า  x > 7
      ดังนั้น คำตอบของอสมการคือ จำนวนจริง  x ทุกจำนวนที่มีค่ามากกว่า 7 นั่นเอง

ตัวอย่าง 2

จงหาคำตอบของอสมการ x+1 ≤ x+2 

วิธีทำ

      เนื่องจาก เมื่อแทน x ด้วยจำนวนจริงใด ๆ ใน x+1 ≤ x+2 แล้วจะได้อสมการที่เป็นจริงเสมอ 
      ดังนั้น คำตอบของอสมการ x+1 ≤ x+2 คือ จำนวนจริงทุกจำนวน

ตัวอย่าง 3

กำหนดให้ x เป็นจำนวนนับ
จงหาค่า x ที่สอดคล้องกับอสมการ 0 < x ≤ 1

วิธีทำ
      จากโจทย์เมื่อแทน x = 1 จะได้ว่า 0 < 1 ≤ 1 อสมการเป็นจริง
      แต่เมื่อแทน x = 2 จะได้ว่า 0 < 2 ≤ 1 อสมการไม่เป็นจริง
      และสำหรับจำนวนนับ x ใดๆ ที่มากกว่า 2 เมื่อแทนลงในอสมการแล้วจะไม่เป็นจริงเสมอ
      ดังนั้น อสมการจะมีเพียงคำตอบเดียวคือ x = 1 เป็นคำตอบของอสมการ

ตัวอย่าง 4

จงหาคำตอบของอสมการ  x < x – 2

วิธีทำ
      จากโจทย์ -x ทั้ง 2 ฝั่งจะได้ x – x < X -2 – x
      
พบว่า  0 < -2
      ซึ่งอสมการไม่เป็นจริง (อาจารย์บางท่านอาจใช้คำว่า “อสมการเป็นเท็จ”)
      หมายความว่าไม่มีจำนวนจริงใดที่แทนค่าใน x แล้วทำให้อสมการเป็นจริงได้
      ดังนั้น อสมการไม่มีคำตอบเป็นจำนวนจริง

กราฟแสดงคำตอบของอสมการ

      เราสามารถนําคําตอบที่ได้ เขียนเป็นกราฟเส้น (line graph) แสดงคําตอบบนเส้นจำนวน เพื่อให้เห็นภาพคําตอบได้ชัดเจน ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ 

  • จุดโปร่ง(วงกลมโปร่ง) จะหมายถึง จำนวนนั้นไม่เป็นคำตอบ
  • จุดทึบ(วงกลมทึบ) จะหมายถึง จำนวนนั้นเป็นคำตอบด้วย
  • เส้นทึบที่ลากเชื่อม จะหมายถึง จำนวนที่เป็นคำตอบของอสมการ โดยใช้การลากเส้นผ่านจำนวนนั้น ๆ

ตัวอย่าง

กราฟแสดงคำตอบของอสมการ

      กราฟข้างต้นแสดงจำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ -1 แต่น้อยกว่า 3 

      ซึ่งเป็นคำตอบของอสมการ -1 ≤ x < 3 

      เนื่องจาก -1 เป็นคำตอบของอสมการ จะเขียนจุดทึบทับจุดที่แทน -1 ไว้เพื่อแสดงว่า 

      กราฟรวมจุดที่แทน -1 และเนื่องจาก 3 ไม่ใช่คำตอบของอสมการ ดังนั้นจะเขียนจุดโปร่งตรงจุดที่แทน 3 ไว้เพื่อแสดงว่า กราฟไม่รวมจุดที่แทน 3 และเส้นทึบที่ลากจะหมายถึงจำนวนจริงทั้งหมดที่มีค่าระหว่าง -1 ถึง 3 เป็นคำตอบของอสมการ

วิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

      การแก้อสมการ คือ การหาคําตอบของอสมการ ซึ่งทําได้โดยการลองแทนค่าตัวแปร หรือใช้สมบัติการไม่เท่ากันเข้ามาช่วย การลองแทนค่าตัวแปรในอสมการอาจไม่สะดวกเมื่อ อสมการมีความซับซ้อน ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วในการแก้อสมการ เราจะใช้สมบัติของการไม่เท่ากันในการหาคําตอบ

สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน

      เมื่อ a , b และ c แทนจํานวนจริงใด ๆ

  1. ถ้า a < b แล้ว a ± c < b ± c
  2. ถ้า a ≤ b แล้ว a ± c ≤ b ± c
  3. ถ้า a > b แล้ว a ± c > b ± c
  4. ถ้า a ≥ b แล้ว a ± c ≥ b ± c

สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน

      เมื่อ a , b และ c แทนจํานวนจริงใด ๆ

  1. ถ้า a < b และ c เป็นจํานวนจริงบวก แล้ว ac < bc
  2. ถ้า a ≤ b และ c เป็นจํานวนจริงบวก แล้ว ac ≤ bc
  3. ถ้า a < b และ c เป็นจํานวนจริงลบ แล้ว ac > bc
  4. ถ้า a ≤ b และ c เป็นจํานวนจริงลบ แล้ว ac ≥ bc
  5. ถ้า a > b และ c เป็นจํานวนจริงบวก แล้ว ac > bc
  6. ถ้า a ≥ b และ c เป็นจํานวนจริงบวก แล้ว ac ≥ bc
  7. ถ้า a > b และ c เป็นจํานวนจริงลบ แล้ว ac < bc
  8. ถ้า a ≥ b และ c เป็นจํานวนจริงลบ แล้ว ac ≤ bc

      น้อง ๆ จะเห็นว่าการคูณด้วยจำนวนบวกอสมการจะไม่เปลี่ยนเครื่องหมาย แต่ถ้าคูณด้วยจำนวนลบอสมการจะเปลี่ยนเครื่องหมาย

      และสำหรับการหาคำตอบของอสมการที่มีเครื่องหมาย ≠ จะใช้การแก้สมการมาช่วยในการหาคำตอบ ทำให้ได้คำตอบของอสมการดังกล่าวเป็นจำนวนจริงทุกจำนวน ยกเว้นจำนวนที่เป็นคำตอบของสมการนั้น

ตัวอย่าง

ตัวอย่างการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

      การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะสร้างอสมการแทนปัญหา แล้วแก้อสมการเพื่อหาคำตอบ เมื่อได้คำตอบแล้ว ต้องนำคำตอบที่ได้ไปตรวจสอบกับเงื่อนไขในโจทย์ปัญหา ว่ามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ เนื่องจากคำตอบที่ได้แม้จะเป็นคำตอบของอสมการที่สร้างขึ้น แต่อาจไม่ใช่คำตอบของโจทย์ปัญหา 

Steps การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

      Step 1 วิเคราะห์โจทย์เพื่อหาว่าโจทย์ให้หาอะไรและมีเงื่อนไขอะไรบ้าง 

      Step 2 กําหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ให้หาหรือแทนสิ่งที่เกี่ยวของกับสิ่งที่โจทย์ให้หา 

      Step 3 สร้างอสมการตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด 

      Step 4 แก้อสมการหาคําตอบ 

      Step 5 นำคำตอบที่ได้ไปตรวจสอบกับเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมาให้

ตัวอย่างข้อสอบอสมการเชิงเส้นเดียวแปรเดียว

ข้อที่ 1

ตัวอย่างข้อสอบอสมการเชิงเส้นเดียวแปรเดียว 1

ข้อที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบอสมการเชิงเส้นเดียวแปรเดียว 2

ข้อที่ 3

ตัวอย่างข้อสอบอสมการเชิงเส้นเดียวแปรเดียว 3

สรุปบทความ

      เป็นไงกันบ้างสำหรับวิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่ พี่ภูมิ ได้นำมาฝาก ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหม ? แต่ถ้าหากน้อง ๆ รู้สึกว่ามีบทเรียนไหนที่ยาก และยังมีความกังวลอยู่ สบายใจได้เลย เพราะการติวคณิตศาสตร์ ม.ต้น และ ติวคณิตศาสตร์ ม.3 ที่ WE BY THE BRAIN จะช่วยปรับพื้นฐานให้น้อง ๆ พร้อมพาตะลุยทำโจทย์ และพิชิตเกรด 4 ให้เอง! 

      WE BY THE BRAIN ติวเตอร์ตัวตึง ยืน 1 เรื่องติว สอนโดยทีมติวเตอร์ระดับประเทศ พิสูจน์คุณภาพมากว่า 37 ปี จำนวนนักเรียนกว่า 2 ล้านคน  สามารถมาเรียนที่ WE BY THE BRAIN ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมสอนความรู้เข้มข้น แชร์เทคนิคทำข้อสอบจัดเต็ม เรียนจบแล้ว พร้อมลุยทุกสนามสอบแน่นอน! 

      อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียด เนื้อหาสมการ ม.3 จาก WE BY THE BRAIN ก่อนใครได้ที่ 

      โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

Picture of อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

มีความเชี่ยวชาญในการสอนโจทย์คณิตศาสตร์ระดับยาก
ที่คัดสรรจากสนามสอบชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ