สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 หลักสูตร สสวท.​ ล่าสุด

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 หลักสูตร สสวท.​ ล่าสุด

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

      ก้าวเข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แล้ว แน่นอนว่าเนื้อหาแต่ละวิชาก็เริ่มเข้มข้นขึ้น มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น นอกจากจะต้องตั้งใจเรียนในห้องเรียนแล้ว น้อง ๆ ม.ต้น ที่มีความฝันอยากสอบเข้า ม.4 โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ก็ต้องวางแผนเริ่มติวสอบเข้า ม.4 กันแล้วด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันการณ์

      เพื่อช่วยให้น้อง ๆ วางแผนเตรียมตัวกันได้ง่ายขึ้น พี่ภูมิ – อ.สิทธิเดช เลนุกูล จะพาไปดูเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.2 หลักสูตร สสวท. หนึ่งในวิชาสำคัญที่ต้องใช้ในการสอบเข้า ม.4 สายวิทย์-คณิตกัน จะต้องเรียนอะไรบ้าง แต่ละบทเรียนมีเนื้อหาน่าสนใจอย่างไร ตามไปดูกันเลย!

คณิตศาสตร์ ม.2 เรียนอะไรบ้าง?

      เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 หลักสูตรใหม่ของ สสวท. (ฉบับปรับปรุงปี 2560) จะมีแบบเรียนทั้งหมด 2 เล่ม สำหรับเทอม 1 มี 6 บทเรียน และเทอม 2 มี 5 บทเรียน มีรายละเอียดดังนี้

เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1

เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2

  • บทที่ 1 สถิติ (2)
  • บทที่ 2 ความเท่ากันทุกประการ
  • บทที่ 3 เส้นขนาน
  • บทที่ 4 การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
  • บทที่ 5 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ในแต่ละบทเรียน

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ในแต่ละบทเรียน

บทที่ 1 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

เนื้อหาประกอบด้วย 

  • ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
  • บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

พี่ภูมิแนะนำ

      “บทนี้เป็นบทที่น้อง ๆ จะต้องเน้นเป็นพิเศษเพราะ เป็นบทที่ต่อยอดและประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ข้อของข้อสอบเรขาคณิต โดย Key สำคัญของบทนี้คือ เมื่อน้องเห็นสามเหลี่ยมมุมฉาก น้องจะต้องนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้นได้ 

      ตัวอย่างเช่น เห็นสามเหลี่ยมมุมฉากปุ๊ปต้องรู้เลยว่า (ด้านประกอบมุมฉาก1)2+ (ด้านประกอบมุมฉาก2)2 = (ด้านตรงข้ามมุมฉาก)2

      ในทางกลับกัน เมื่อเจอรูปสามเหลี่ยมใด ๆ มีความยาวด้านมีความสัมพันธ์ว่า กำลังสองของความยาวของด้านหนึ่งเท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านอีกสองด้านแล้ว สามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เราจะเรียกว่า บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง

เนื้อหาประกอบด้วย 

  • จำนวนตรรกยะ
  • จำนวนอตรรกยะ
  • รากที่สอง
  • รากที่สาม 

พี่ภูมิแนะนำ

      “เป็นบทพื้นฐานที่น้องควรทำความเข้าใจตั้งแต่ ม.ต้น เพราะจะต้องนำไปต่อยอดใช้ต่อในระดับชั้น ม.ปลาย โดยน้อง ๆ จะต้องจำแนกจำนวนจริงได้ว่า จำนวนใดเป็นจำนวนตรรกยะ จำนวนใดเป็นจำนวนอตรรกยะ สามารถเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ เข้าใจและเปรียบเทียบจำนวนจริงเป็น หารากที่สองและหารากที่สามของจำนวนตรรกยะได้ เข้าใจว่าอะไรคือค่าหลักของรากที่สอง”

บทที่ 3 ปริซึมและทรงกระบอก

เนื้อหาประกอบด้วย

  • พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม
  • พื้นที่ผิวและปริมาตรของทรงกระบอก

พี่ภูมิแนะนำ

      “บทนี้จะเป็นอีกหนึ่งบทที่ต้องมีพื้นฐานและนำไปใช้ต่อในระดับชั้น ม.3 โดยน้อง ๆ จะต้องหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอกได้ รู้ว่าจะต้องรู้ค่า หรือตัวแปรอะไรก่อน ถึงจะสามารถแก้หาพื้นที่ผิวและปริมาตรได้ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก”

บทที่ 4 การแปลงทางเรขาคณิต

เนื้อหาประกอบด้วย

  • การเลื่อนขนาน
  • การสะท้อน
  • การหมุน

พี่ภูมิแนะนำ

      “บทนี้เป็นบทที่ถ้าใครกำลังเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (MWIT) ต้องเข้าใจ

      จัดได้ว่าเป็นบทหนึ่งที่ออกข้อสอบไม่ยาก โดยข้อสอบที่ออกจะประยุกต์ใช้การแปลงทางเรขาคณิตทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน โดยการเลื่อนขนานจะเป็นการแปลงที่ง่ายที่สุด ถัดมาเป็นเรื่องของการสะท้อน จะมี Key สำคัญแค่ว่าระยะวัตถุกับเส้นสะท้อนกับระยะภาพกับเส้นสะท้อนจะมีระยะห่างเท่ากัน ส่วนการหมุนถ้าอยากได้เทคนิคการทำโจทย์ล้ำ ๆ น้องสามารถมาเจอกับพี่ได้ในคอร์สติวเลย”

บทที่ 5 สมบัติของเลขยกกำลัง

เนื้อหาประกอบด้วย

  • การดำเนินการของเลขยกกำลัง
  • สมบัติอื่น ๆ ของเลขยกกำลัง

พี่ภูมิแนะนำ

      “บทนี้ถือว่าเป็นบทง่ายที่สุดที่ต่อยอดมาจาก ม.1 เน้นการนำสมบัติเลขยกกำลังมาใช้ประโยชน์ ถ้าน้องจำสมบัติได้ และเข้าใจเรื่องของการแปลงจำนวนเยอะ ๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทนี้จะเป็นขนมสำหรับน้อง ๆ เลย”

บทที่ 6 พหุนาม

เนื้อหาประกอบด้วย

  • การบวกและลบเอกนาม
  • การบวกและลบพหุนาม
  • การคูณพหุนาม
  • การหารพหุนามด้วยเอกนาม

พี่ภูมิแนะนำ

      “ปฐมบทของบทที่น้องจะต้องเรียนต่อในเทอม 2 โดยสิ่งที่น้องจะต้องทำความเข้าใจ คือ คำศัพท์ต่าง ๆ ที่โผล่ขึ้นมา เช่น คำว่า นิพจน์ เอกนาม พหุนาม เอกนามคล้าย พหุนามในรูปผลสำเร็จ เป็นต้น 

      โดยบทนี้ น้อง ๆ จะต้องหาผลบวก ผลลบ ผลคูณของพหุนาม และหาผลหารของพหุนามด้วยเอกนาม ในรูปผลสำเร็จให้ได้ และนำความรู้เรื่องพหุนามไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 

      หากน้องเรียนในบทนี้ไม่เข้าใจ มีพื้นฐานไม่แน่นจะไปต่อได้ยากในระดับชั้นและบทถัด ๆ ไป เช่น 

  • บทการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ( ม.2 เทอม 2) 
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสอง ( ม.3 เทอม 1) 
  • สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ( ม.3 เทอม 1) 
  • ฟังก์ชันกำลังสอง ( ม.3 เทอม1) 
  • ระบบสมการ ( ม.3 เทอม 2) 

      จึงถือว่าเป็นบทที่มีความสำคัญอย่างมาก!”

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2 ในแต่ละบทเรียน

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2 ในแต่ละบทเรียน

บทที่ 1 สถิติ (2)

เนื้อหาประกอบด้วย

  • แผนภาพจุด
  • แผนภาพต้น – ใบ
  • ฮิสโทแกรม
  • ค่ากลางของข้อมูล

พี่ภูมิแนะนำ

      “จะเป็นบทที่น้อง ๆ ต้องสามารถนำเสนอ อ่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น – ใบ และฮิสโทแกรมได้ นอกจากนี้จะต้องสามารถหาเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมัธยฐาน และฐานนิยม) ได้ด้วย ซึ่งการคำนวณค่ากลางเป็นหนึ่งในเรื่องที่ออกข้อสอบบ่อยมาก ๆ ทั้งข้อสอบในโรงเรียน และข้อสอบแข่งขันต่าง ๆ ถ้าหากไม่ฝึกทำโจทย์ให้คล่อง ต้องพลาดหลายคะแนนแน่นอน”

บทที่ 2 ความเท่ากันทุกประการ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต
  • ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – มุม – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม – ด้าน – มุม
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – ด้าน – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม – มุม – ด้าน
  • รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ฉาก – ด้าน – ด้าน
  • การนำไปใช้

พี่ภูมิแนะนำ

      “Key หลักของบทนี้ น้องต้องเข้าใจการเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตว่า รูปเรขาคณิตสองรูปที่เท่ากันทุกประการ เมื่อทั้งสองรูปนั้นมีรูปร่างเหมือนกัน และมีขนาดเท่ากัน 

โดยในบทนี้ จะเน้นความเท่ากันทุกประกอบของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีหลายแบบ เช่น ด้าน – มุม – ด้าน, มุม – ด้าน – มุม, ด้าน – ด้าน – ด้าน, มุม – มุม – ด้าน หรือ ฉาก – ด้าน – ด้าน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้โจทย์ทางเรขาคณิตยาก ๆ ได้เป็นอย่างดี”

บทที่ 3 เส้นขนาน

เนื้อหาประกอบด้วย

  • เส้นขนานและมุมภายใน
  • เส้นขนานและมุมแย้ง
  • เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน
  • เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม

พี่ภูมิแนะนำ

      “เป็นบทที่ต่อยอดมาจากบทเรียนเส้นขนานในตอนประถม มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วก็ยังไม่ใช่บทที่ยากมาก เมื่อเทียบกับบทอื่น ๆ ดังนั้นน้อง ๆ ต้องตั้งใจเรียนในบทนี้ให้มาก ๆ เพื่อที่จะได้เก็บคะแนนให้เต็ม!”

บทที่ 4 การให้เหตุผลทางเรขาคณิต

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต
  • การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
  • การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม

พี่ภูมิแนะนำ

      “จะเป็นบทที่นำความรู้ต่าง ๆ จากบทเรขาคณิตที่เรียนไปก่อนหน้านี้ เช่น การสร้าง, เส้นขนาน และความเท่ากันทุกประการมาใช้ในการพิสูจน์ และการบอกเหตุผลต่าง ๆ ในการคำนวณ การจะเก็บคะแนนในบทนี้ให้ได้มาก ๆ นอกจากน้องจะคำนวณได้แล้ว ยังต้องฝึกการเขียนพิสูจน์ด้วย”

บทที่ 5 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

เนื้อหาประกอบด้วย

  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้การแจกแจง
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง

พี่ภูมิแนะนำ

      “เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะต้องนำไปต่อยอดในการเรียนคณิตศาสตร์ ม.3 และนำไปใช้สอบเข้า ม.4 โดยน้อง ๆ จะต้องแยกตัวประกอบพหุนามให้เป็น เข้าใจเรื่องของกำลังสองสมบูรณ์และผลต่างกำลังสอง ซึ่งจะมีการใช้ต่อเนื่องอีกครั้งเมื่อน้องขึ้น ม.3 ที่จะต้องเรียนการแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง, สมการกำลังสอง, กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ซึ่งบทเหล่านี้ล้วนใช้พื้นฐานจากการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองนำไปต่อยอด”

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 พร้อมเฉลย

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2

 

ตัวอย่างข้อสอบเข้า ม.4 ของคณิตศาสตร์ ม.2

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์เข้า ม.4

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์เข้า ม.4

 

ตัวอย่างข้อสอบเข้า ม.4 สพฐ. รอบ 1 ของคณิตศาสตร์ ม.2

ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2

โจทย์  จากรูป ด้าน AB ขนานกับด้าน CD ถ้าขนาดของมุม AFE เท่ากับ 40 องศา แล้วมุมของ BEF มุม FED และมุม EDC มีขนาดรวมกันเป็นกี่องศา

  1. 200
  2. 220
  3. 300
  4. 320
  5. หาค่าที่แน่นอนไม่ได้

คำตอบ ข้อ B 220 องศา

 

ตัวอย่างข้อสอบเข้า ม.4 IJSO ของคณิตศาสตร์ ม.2

ตัวอย่างข้อสอบเข้า ม.4 IJSO ของคณิตศาสตร์ ม.2

โจทย์  พิจารณาจำนวนที่เขียนได้ในรูปทศนิยม o.pq โดยที่ p และ q เป็นเลขโดดตั้งแต่ 1 ถึง 8 ซึ่ง p ≠ q ถ้า S เป็นผลบวกของจำนวนเหล่านั้นทั้งหมด แล้วจงหาว่าข้อใดต่อไปนี้มีค่าเป็นจำนวนตรรกยะ

  1. 7S
  2. 9S
  3. 77S
  4. 99S

คำตอบ ข้อ A

ติวคณิตศาสตร์ ม.2 กับ WE BY THE BRAIN พร้อมพิชิตเกรด 4

      เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ม.2 ที่นำมาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ และผู้ปกครองมองเห็นภาพรวมของคณิตศาสตร์ในชั้นนี้ และวางแผนการเรียนได้อย่างเหมาะสม แล้วมีบทเรียนไหนที่น้อง ๆ รู้สึกว่ายากไหมครับ หากน้อง ๆ ยังมีความกังวลอยู่ สบายใจได้เลย เพราะ คอร์สติวคณิตศาสตร์ ม.2 จาก WE BY THE BRAIN จะช่วยปรับพื้นฐานให้น้อง ๆ พร้อมพาตะลุยทำโจทย์ และพิชิตเกรด 4 ให้เอง!

Picture of อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

อ.สิทธิเดช เลนุกูล (พี่ภูมิ)

มีความเชี่ยวชาญในการสอนโจทย์คณิตศาสตร์ระดับยาก
ที่คัดสรรจากสนามสอบชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ