TPAT3 คืออะไร? ใครต้องสอบ? พร้อมเทคนิคเตรียมตัว #DEK69 ห้ามพลาด!

TPAT3 คืออะไร? ใครต้องสอบ? พร้อมเทคนิคเตรียมตัว #DEK69 ห้ามพลาด!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

อัปเดตข้อมูลล่าสุด : 01/04/2025

     น้อง ๆ DEK69 คนไหนที่อยากจะสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ หรือคณะเทคโนโลยี หนึ่งในข้อสอบกลางที่น้อง ๆ จะต้องให้ความสำคัญเลยก็คือ TPAT3 ข้อสอบวัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เพราะสามารถนำคะแนนไปใช้ในการยื่นสมัครสอบ TCAS69 ได้ทั้งรอบ 2 Quota, รอบ 3 Admission และ รอบ 4 Direct Admission ที่สำคัญยังมีสัดส่วนคะแนนที่มากด้วย!

      แล้ว TPAT3 มีรูปแบบข้อสอบยังไง? ใครต้องสอบ? สอบเมื่อไหร่? พี่วีวี่ได้หาคำตอบมาให้แล้ว พร้อมแชร์ เทคนิคเตรียมตัวสอบ TPAT3 และตัวอย่างแนวข้อสอบ จะมีความยาก – ง่ายยังไง ตามไปดูกันเลย!

TPAT3 คืออะไร

      TPAT (Thai Professional Aptitude Test) เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิชาชีพ โดย TPAT3 คือ การสอบวัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ น้อง ๆ DEK69 ที่ต้องการเข้าคณะใน 3 กลุ่มนี้จะต้องสอบ TPAT3 เพื่อนำไปใช้ในการยื่นสมัคร TCAS69 ด้วย

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT3 ใน TCAS69

      น้อง ๆ DEK69 รู้รึเปล่าว่า มีหลายคณะเลยนะที่ใช้คะแนน TPAT3 เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ยกตัวอย่างเช่น

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เอกฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • คณะโลจิกติกส์
  • คณะอัญมณี
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • คณะอุตสาหกรรมเกษตร
  • คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

      สำหรับสัดส่วนคะแนนที่ใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย แต่โดยส่วนใหญ่สัดส่วนของคะแนน TPAT3 จะอยู่ที่ 20 – 30% และมีคะแนนสอบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความถนัดทั่วไป (TGAT), A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, A-Level ฟิสิกส์ หรือ A-Level เคมี เป็นต้น น้อง ๆ DEK69 คนไหนที่อยากรู้สัดส่วนคะแนนที่ชัดเจน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://course.mytcas.com ได้เลย

TPAT3 ค่าสมัครสอบเท่าไหร่?

      TPAT3 จะมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ 140 บาท โดยมีให้เลือกสอบ 2 แบบ คือ การสอบด้วยกระดาษ หรือสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

      โดยหลังจากที่สอบ TPAT3 เสร็จแล้วและคะแนนสอบออกแล้ว หากน้อง ๆ ต้องการยื่นคำร้องขอทบทวนผลคะแนนสอบ จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 100 บาทค่ะ

คะแนนสอบ TPAT3 อยู่ได้กี่ปี?

      คะแนนสอบ TPAT3 จะอยู่ได้แค่ 1 ปี และสามารถใช้คะแนนได้แค่ในปีการศึกษาที่น้อง ๆ สมัครเท่านั้น เช่น หากน้อง ๆ สมัครสอบ TPAT3 ในปีการศึกษา 2568 ก็สามารถใช้คะแนนสอบสมัครได้แค่ TCAS68 เท่านั้น ถ้าต้องการสอบ TCAS69 จะต้องสมัครสอบใหม่ทั้งหมด

ลักษณะโครงสร้างข้อสอบ TPAT3 เป็นยังไง?

ลักษณะโครงสร้างข้อสอบ TPAT3 เป็นอย่างไร?

      ข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก ใช้ระยะเวลาสอบ 180 นาที มีจำนวนทั้งหมด 70 ข้อ 100 คะแนนเต็ม แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. การทดสอบความถนัด (Aptitude Test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

      ข้อสอบ TPAT3 พาร์ตนี้ มีทั้งหมด 45 ข้อ 60 คะแนน แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่ 

  • ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning) :  จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
  • ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning) :  จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
  • ด้านเชิงกล (Mechanical Reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics) :  จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน

2. การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

      ข้อสอบ TPAT3 พาร์ตนี้ มีทั้งหมด 25 ข้อ 40 คะแนน แบ่งเป็น 2 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่ 

  • ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ :  จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
  • ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ :  จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน

ตัวอย่างแนวข้อสอบ TPAT3 พร้อมเฉลย

      เพื่อให้น้อง ๆ มองเห็นภาพการสอบ TPAT3 ได้ชัดเจนมากขึ้น พี่วีวี่มี ตัวอย่างแนวข้อสอบ TPAT3 จาก MyTcas มาฝาก ลองไปดูแนวโจทย์และคำตอบกันได้เลย!

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (Aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

1. ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning)

1.1 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้
      16, 1, 8, 3, 4, 9, 2, ?

คำตอบ

  1.  27
  2.  28
  3.  29 
  4.  30
  5.  31

เฉลย  ตอบข้อ 1. 27 

เหตุผล  เพราะชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7 นำตัวเลขก่อนหน้ามาหารด้วย 2 ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคู่ คือ 2, 4, 6  นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 3  ตำแหน่งที่ 8 จึงเป็น 3 x 9 = 27

2. ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning)

2.1 หากต้องการวางลูกบาศก์ซ้อนกันเพื่อให้ได้ภาพที่มองจากด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง ดังภาพต่อไปนี้ จะต้องใช้ลูกบาศก์อย่างน้อยที่สุดกี่ลูก

ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning Aptitude Test)

คำตอบ

  1.  8
  2.  9
  3.  10
  4.  11
  5.  12

 

เฉลย  ตอบข้อ 2. 9 

เหตุผล  เพราะเมื่อพิจารณาจากภาพด้านบนพบว่า มีกล่องที่เป็นฐานอยู่ 7 กล่อง และจากภาพด้านหน้าทำให้ทราบว่าตรงตำแหน่งที่ 1, 2, 5 และ 6   อาจมีกล่องซ้อนเป็นสองชั้นแต่ไม่ทราบว่ามีซ้อนอยู่บนทั้งสี่กล่องหรือไม่  เมื่อดูภาพด้านข้างจึงทราบว่ามีกล่องซ้อนอีกเพียง 2 กล่อง คือตรงกล่องที่ 1 และ 5 เท่านั้น  จำนวนกล่องจึงมีทั้งหมดเท่ากับ 7 + 2 = 9  กล่อง

ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic reasoning)

3. ด้านเชิงกล (Mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics)

3.1 ถ้าเฟือง C หมุนทวนเข็มนาฬิกา ข้อใดกล่าวถูกต้อง

3. ด้านเชิงกล (Mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics aptitude test) 3.1 ถ้าเฟือง C หมุนทวนเข็มนาฬิกา ข้อใดกล่าวถูกต้อง
คำตอบ
  1. มีเฟืองหมุนตามเข็มนาฬิกาสามอัน
  2. เฟือง B กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา
  3. เฟือง A กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา
  4. เฟือง A กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา
  5. เฟือง B กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา

เฉลย  ตอบข้อ 5. 

เหตุผล  เพราะเมื่อดูตามรูป จะมีแค่เฟือง B กับ E เท่านั้นที่หมุนตามเข็มนาฬิกา

A. มีเฟืองหมุนตามเข็มนาฬิกาสามอัน B. เฟือง B กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา C. เฟือง A กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา D. เฟือง A กับ D หมุนตามเข็มนาฬิกา E. เฟือง B กับ E หมุนตามเข็มนาฬิกา เฉลย ตอบข้อ E. เพราะเมื่อดูตามรูป จะมีแค่เฟือง B กับ E เท่านั้นที่หมุนตามเข็มนาฬิกา

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

4. ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

4.1 ถ้าวงกลมตามรูปข้างล่างมีพื้นที่รวม 10 หน่วย  มีวงกลมเล็กแบ่งตามรัศมีห่างเท่ากันอีก 3 วงอยู่ข้างใน จงประมาณผลรวมของพื้นที่สีดำ

คำตอบ
  1. 4 หน่วย
  2. 5 หน่วย
  3. 6 หน่วย
  4. 7 หน่วย
  5. 8 หน่วย

เฉลย  ตอบข้อ 2. 

เหตุผล  เพราะพื้นที่ของชิ้นส่วนที่มีสีดำกับสีขาวซึ่งมีขนาดเท่ากัน มีจำนวนชิ้นส่วนเท่ากัน  แสดงว่าชิ้นส่วนสีดำกับสีขาวมีพื้นที่เท่ากัน คือ สีละ 5 หน่วย

5. ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

5.1 ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์จาก AI (Artificial Intelligence)

คำตอบ

  1. อุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟฟ้าด้วยแสงสว่าง
  2. อุปกรณ์ตั้งเวลาเปิดปิดระบบรดน้ำต้นไม้
  3. ระบบควบคุมยานพาหนะไร้คนขับ
  4. แขนกลที่ใช้ทำงานเชื่อมโลหะ
  5. เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ

เฉลย  ตอบข้อ 3.

เหตุผล  เพราะต้องใช้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

รวมคลิปติว TPAT3 จาก WE BY THE BRAIN เจาะลึกทุกข้อ & เทคนิคเพียบ!

      นอกจากแนวข้อสอบ TPAT3 แล้ว พี่วีวี่ยังได้รวบรวม คลิปติวข้อสอบ TPAT3 จากพี่ ๆ ติวเตอร์ – เดอะ เบรน มาให้ด้วย น้อง ๆ DEK69 ทุกคนสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจเพื่อติวเข้มก่อนลุยสนาม TCAS69 ได้เลย!

TPAT3 สอบเมื่อไหร่ (อัปเดตล่าสุด TCAS69)

      แม้ว่าปฏิทินการสอบ TPAT3 ใน TCAS69 จะยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่น้อง ๆ DEK69 สามารถดูกำหนดการสอบของปี 68 เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบได้ดังนี้

  • รับสมัครสอบ TPAT3 :  วันที่ 29 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2567
  • สอบ TPAT3 :  วันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2567
  • ประกาศผลสอบ TPAT3 (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) :  วันที่ 17 ธันวาคม 2567
  • ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TPAT3 (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) :  วันที่ 18 – 25 ธันวาคม 2567
  • ประกาศผลสอบ TPAT3 (สอบด้วยกระดาษ) :  วันที่ 7 มกราคม 2568
  • ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TPAT3 (สอบด้วยกระดาษ) :  วันที่ 8 – 15 มกราคม 2568

เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมลุยข้อสอบ TPAT3

เทคนิคเตรียมตัวให้พร้อมลุยข้อสอบ TPAT3

      น้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก่อนที่จะไปเริ่มติวสอบ TPAT3 พี่วีวี่มี 4 เทคนิคเตรียมตัวติดวิศวะ มาฝากกัน สามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนอ่านหนังสือสอบของตัวเองได้เลย รับรองว่าช่วยเพิ่มความมั่นใจและพร้อมลุยสอบมากขึ้นอย่างแน่นอน!

1. หาข้อมูลคณะ / มหาวิทยาลัยที่อยากเข้า และวางแผนการอ่านหนังสือให้ดี

      ในสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่ TPAT3 เท่านั้นที่น้อง ๆ จะต้องสอบ แต่ยังมีข้อสอบอีกหลายวิชาที่ต้องใช้ในการสมัครสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็น A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม), A-Level ฟิสิกส์ และ A-Level เคมี พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ ศึกษาข้อมูลคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองอยากเข้าให้ละเอียด โดยเฉพาะสัดส่วนคะแนน จะได้จัดตารางเวลาอ่านหนังสือสอบแต่ละวิชาอย่างเหมาะสม

2. หมั่นทำโจทย์ พร้อมวิเคราะห์จุดผิดพลาดของตัวเอง

      นอกจากการอ่านหนังสือสอบแล้ว การทำโจทย์ หรือฝึกทำข้อสอบจริง เป็นอีกหนึ่งทางลัดที่จะช่วยให้น้อง ๆ มีความเข้าใจในเนื้อหาของแต่ละวิชามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้น้อง ๆ รู้ด้วยว่า ตนเองยังไม่แม่นในบทไหน และมีบทไหนที่ต้องทบทวนหรือติวเพิ่มเติม

3. อย่าลืมลองจับเวลาสอบเสมือนจริง

      นอกจากจะทำข้อสอบได้แล้ว น้อง ๆ ต้องทำข้อสอบให้เสร็จทันเวลาด้วยนะ ถ้าใครยังไม่เคยจับเวลาสอบเสมือนจริงมาก่อน พี่วีวี่แนะนำให้น้อง ๆ ลองจับเวลาสอบเสมือนจริงดู จะได้รู้ว่าตนเองทำข้อสอบช้ากว่าที่ควรจะเป็นมั้ย เช่น ถ้าน้อง ๆ สอบ TPAT3 จะมีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 70 ข้อ มีระยะเวลาสอบ 180 นาที หรือเฉลี่ยที่ข้อละ 2 – 3 นาที หากน้อง ๆ ลองทำข้อสอบแล้วพบว่า ตนเองใช้ระยะเวลานานกว่านี้ ก็แสดงว่าทำข้อสอบช้าเกินไปนั่นเอง

4. ให้ความสำคัญกับการพักผ่อน และการเรียนการสอนในโรงเรียน

      ข้อสุดท้ายที่พี่วีวี่อยากฝากไว้ก็คืออย่าลืมให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนในช่วงที่อ่านหนังสือสอบ หรือการพักผ่อนก่อนวันสอบจริง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ไม่เครียดจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

      และอีกหนึ่งอย่างที่พี่วีวี่ไม่อยากให้ทิ้งเลยก็คือ การตั้งใจเรียนและสอบในโรงเรียนค่ะ เพราะนอกจากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาในวิชาที่ต้องใช้สอบแล้ว คะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ยังเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยนะ ห้ามทิ้งเด็ดขาดเลย!

DEK WE 68 : พิชิตคะแนนปัง TPAT3

DEK69 พิชิต TPAT3 สอบติดคณะในฝันไปกับ WE BY THE BRAIN

      อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พี่วีวี่เชื่อว่า น้อง ๆ DEK69 ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงพร้อมที่จะเริ่มเตรียมตัวติว TPAT3 กันแล้ว อย่าลืมลองนำ เทคนิคเตรียมตัวติดวิศวะ ไปปรับใช้กันดูนะคะ

      สำหรับใครที่อยากได้เทคนิคทริกลัดเพิ่มเติม ต้องการติวเข้มก่อนสอบ A-Level, TGAT และ TPAT3 สามารถสมัครคอร์สติวเข้ามหาวิทยาลัย 69 กับ “เดอะ เบรน” ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมพาน้อง ๆ ไปตะลุยโจทย์ข้อสอบหลากหลายรูปแบบ เน้นสอนด้วยความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เรียนจบแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ เก็บคะแนนสอบได้มากขึ้นอย่างแน่นอน!

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ